สรุปบทที่ 6 การสื่อสารและระบบเครือข่าย
ระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ คอมพิวเตอร์ สถานี ช่องทางการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์สนับสนุนติดต่อสื่อสาร และชุดคำสั่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร ซึ่งระบบเครือข่ายแยกตามระยะทางและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ สามารถแบ่งออกเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ หรือ LAN ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง หรือ MAN ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ หรือ WAN และระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ
รูป แบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆมี 4 แบบคือ โทโปโลยีแบบบัส โทโปโลยีแบบวงแหวน โทโปโลยีแบบดาว และโทโปโลยีแบบผสม ซึ่งเครือข่ายแต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ปัจจุบัน ช่องทางการติดต่อสื่อสารมีอยู่ 2 ลักษณะ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ได้แก่ การสื่อสารแบบมีสาย เช่น สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง และระบบสื่อสารแบบไร้สาย เช่น คลื่นสั้น และดาวเทียม โดยช่องทางการติดต่อสื่อสารแต่ละลักษณะจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารนั้น ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณที่ผ่านตัวกลางแบบมีสายหรือแบบไร้สาย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ สัญญาณแบบแอนะล็อกและสัญญาณแบบดิจิตอล ส่วนอุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อสื่อสารสำคัญมีดังนี้ อุปกรณ์ประมวลผลหน้า อุปกรณ์รวบรวม และอุปกรณ์ควบคุม
เรา จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ที่เคย ปฏิบัติงานเก็บรวบรวม ประมวลผล และจัดการสารสนเทศ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่อยู่คนละส่วนงานหรือคนละพื้นที่ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจึงต้องติดตามศึกษาการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของ เทคโนโลยี เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น