วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 5

สรุปบทที่ 5  ระบบฐานข้อมูล

                ปัจจุบัน ข่าวสารและข้อมูลนับว่าเป็นทรัพยากรสำคัญที่ถูกนำมาช่วยสนับสนุนผู้บริหารใน การบริหารและการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆของธุรกิจ การได้รับข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำในเวลา ที่ต้องการ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ในทาง ตรงกันข้าม ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อการดำเนินงานของ องค์การได้       
                เรา จะแบ่งการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 แบบคือ การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ และการจัดแฟ้มแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงานและ ปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ
                ฐานข้อมูล หมาย ถึงการเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะ คือ โครงสร้างเชิงกายภาพ และโครงสร้างเชิงตรรกะ แต่เราจะให้ความสนใจกับโครงสร้างเชิงตรรกะ ซึ่งสามารถแยกอธิบายด้วยแบบจำลองออกเป็น 3 ประเภทคือ แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย และแบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์
                ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลฐานข้อมูล โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล หรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล หรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล
                การ บริหารฐานข้อมูลจะครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้ง เชิงตรรกะและเชิงกายภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารบานข้อมูล หรือ DBA
                ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย หมาย ถึงระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลไว้ในที่ต่างๆมากกว่า 1 แห่ง การเก็บข้อมูลแบบนี้มีได้ 2 ลักษณะคือ ระบบฐานข้อมูลกระจายแบบมีดัชนีรวม และระบบฐานข้อมูลกระจายแบบถามเครือข่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น