วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 14

คลิกลิงก์
http://www.mediafire.com/?gmw98dbbrt46wao

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 13

คลิกลิงก์
http://www.mediafire.com/?4847f37fd276gov

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 12

คลิกลิงก์
http://www.mediafire.com/?eg8d1vqny7jt8z6

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 11

คลิกลิงก์
http://www.mediafire.com/?hddkfqw4fcw1uo6

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 10

คลิกลิงก์
http://www.mediafire.com/?g92e62zm1tvfqfc

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 9

คลิกลิงก์
http://www.mediafire.com/?c9cy4q9w2xg6r49

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 8

คลิกลิงก์
http://www.mediafire.com/?6oogo09kem82azh

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 7

คลิกลิงก์
http://www.mediafire.com/?4cbo95s0nvc05rk

สรุปบทที่ 6

สรุปบทที่ 6  การสื่อสารและระบบเครือข่าย

                ระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ คอมพิวเตอร์ สถานี ช่องทางการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์สนับสนุนติดต่อสื่อสาร และชุดคำสั่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร ซึ่งระบบเครือข่ายแยกตามระยะทางและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ สามารถแบ่งออกเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ หรือ LAN ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง หรือ MAN ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ หรือ WAN และระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ
                รูป แบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆมี 4 แบบคือ โทโปโลยีแบบบัส โทโปโลยีแบบวงแหวน โทโปโลยีแบบดาว และโทโปโลยีแบบผสม ซึ่งเครือข่ายแต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน
                ปัจจุบัน ช่องทางการติดต่อสื่อสารมีอยู่ 2 ลักษณะ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ได้แก่ การสื่อสารแบบมีสาย เช่น สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง และระบบสื่อสารแบบไร้สาย เช่น คลื่นสั้น และดาวเทียม โดยช่องทางการติดต่อสื่อสารแต่ละลักษณะจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารนั้น ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณที่ผ่านตัวกลางแบบมีสายหรือแบบไร้สาย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ สัญญาณแบบแอนะล็อกและสัญญาณแบบดิจิตอล ส่วนอุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อสื่อสารสำคัญมีดังนี้ อุปกรณ์ประมวลผลหน้า อุปกรณ์รวบรวม และอุปกรณ์ควบคุม
            เรา จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ที่เคย ปฏิบัติงานเก็บรวบรวม ประมวลผล และจัดการสารสนเทศ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่อยู่คนละส่วนงานหรือคนละพื้นที่ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจึงต้องติดตามศึกษาการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของ เทคโนโลยี เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ

สรุปบทที่ 5

สรุปบทที่ 5  ระบบฐานข้อมูล

                ปัจจุบัน ข่าวสารและข้อมูลนับว่าเป็นทรัพยากรสำคัญที่ถูกนำมาช่วยสนับสนุนผู้บริหารใน การบริหารและการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆของธุรกิจ การได้รับข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำในเวลา ที่ต้องการ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ในทาง ตรงกันข้าม ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อการดำเนินงานของ องค์การได้       
                เรา จะแบ่งการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 แบบคือ การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ และการจัดแฟ้มแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงานและ ปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ
                ฐานข้อมูล หมาย ถึงการเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะ คือ โครงสร้างเชิงกายภาพ และโครงสร้างเชิงตรรกะ แต่เราจะให้ความสนใจกับโครงสร้างเชิงตรรกะ ซึ่งสามารถแยกอธิบายด้วยแบบจำลองออกเป็น 3 ประเภทคือ แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย และแบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์
                ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลฐานข้อมูล โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล หรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล หรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล
                การ บริหารฐานข้อมูลจะครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้ง เชิงตรรกะและเชิงกายภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารบานข้อมูล หรือ DBA
                ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย หมาย ถึงระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลไว้ในที่ต่างๆมากกว่า 1 แห่ง การเก็บข้อมูลแบบนี้มีได้ 2 ลักษณะคือ ระบบฐานข้อมูลกระจายแบบมีดัชนีรวม และระบบฐานข้อมูลกระจายแบบถามเครือข่าย

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 4

สรุปบทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

                การ พัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นงานใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรขององค์การ และระยะเวลา แต่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบประสบความสำเร็จคือผู้ใช้ ระบบจะต้องให้ข้อมูลแก่ทีมงานพัฒนาระบบในด้านต่างๆ โดยที่การพัฒนาระบบให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
                1.ผู้นำและผู้ใช้ระบบมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ
                2.การวางแผนพัฒนาระบบถูกดำเนินการอย่างถูกวิธี
                3.มีแนวทางที่แน่นอนในการออกแบบและทดสอบชุดคำสั่ง
                4.เอกสารที่ใช้ประกอบในกระบวนการพัฒนาระบบมีความสมบูรณ์
                5.มีการวางแผนและฝึกอบรมผู้ใช้ระบบที่ดี
                6.มีการตรวจสอบหลังการติดตั้งระบบใหม่เป็นระยะ
                7.มีการวางแผนให้มีกระบวนการในการบำรุงรักษาที่ง่าย
                8.การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต
                ในการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ หรือที่เรียกว่า SA นั้นมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาระบบ หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบคือ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบระบบ
                โดย ปกติทีมงานพัฒนาระบบประกอบด้วยบุคลดังต่อไปนี้ คณะกรรมการ ผู้จัดการระบบสารสนเทศ ผู้จัดการโครงการ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม  เจ้า หน้าที่รวบรวมข้อมูลและผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป โดยที่การพัฒนาระบบจะสามารถทำได้อยู่ 4 วิธีคือ วิธีเฉพาะเจาะจง วิธีสร้างฐานข้อมูล วิธีจากล่างขึ้นบน และวิธีจากบนลงล่าง
                การพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีกระบวนการการพัฒนาระบบแบ่งได้ 5 ขั้นตอนคือ
                1.การสำรวจเบื้องต้น
                2.การวิเคราะห์ความต้องการ
                3.การออกแบบระบบ
                4.การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
                5.การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
                ซึ่ง การพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีกระบวนการหรือขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ดี ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมใช้ดังนี้ รูปแบบน้ำตก รูปแบบวิวัฒนาการ รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป และรูปแบบเกลียว การปรับเปลี่ยนระบบ ทีมงานควรเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบ หนึ่ง ซึ่งการปรับเปลี่ยนระบบสามารถกระทำได้ 4วิธี คือ กรปรับเปลี่ยนโดยตรง การปรับเปลี่ยนแบบขนาน การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ และการปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง

แบบฝึกหัดบทที่4

1. ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไรบ้าง
 ตอบ 
ผู้ จัดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์การและ/หรืเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติ งานกับระบบสารสนเทศ ผู้ใช้จะเป็นบุคคลที่ใช้งานและปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศโดยตรง เช่น จัดเก็บ ปรับปรุง ประมวลผลข้อมูล และนำข้อมูลมาใช้งาน เป็นต้น
2. ปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
ตอบ 
การพัฒนาระบบสารสนเทศให้สำเร็จต้องพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
         1. ผู้ใช้ระบบ สมควรต้องมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการพัฒนาระบบ โดยเฉพาะผู้นำหรือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญและมีอำนาจในกลุ่มผู้ใช้
          2. การวางแผน ระบบงานที่มีประสิทธิภาพจะเกิดจากการวางแผนการพัฒนาระบบอย่างรอบคอบและเป็น ขั้นตอนที่ชัดเจน เพราะการวางแผนที่เป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นจะสำเร็จลุล่วงด้วยดี
           3. การทดสอบ ทีมงานพัฒนาระบบต้องการออกแบบกระบวนการดำเนินงานของระบบที่กำลังศึกษา
           4. การจัดเก็บเอกสาร การพัฒนาระบบต้องมีระบบจัดเก็บเอกสารที่สมบูรณ์ ชัดเจนถูกต้อง ง่ายต่อการค้นหาและอ้างอิง
            5. การเตรียมความพร้อม มีการวางแผนสร้างความเข้าใจและฝึกอบรมผุ้ใช้ระบบ
            6. การตรวจสอบและประเมินผล โดยดำเนินการเป็นระยะๆ ภายหลังจากติดตั้งระบบเพื่อที่จะพิจารณาว่าระบบสารสนเทศใหม่มีความสมบูรณ์
            7. การบำรุงรักษา ระบบสารสนเทศที่ดีไม่เพียงแต่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
            8. อนาคต เตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาการในอนาคต ทีมงานพัฒนาระบบสมควรออกแบบระบบให้มีความยืดหยุ่นและสามารถที่จะพัฒนาในอนาคต
3. หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง
    ตอบ   
นักวิเคราะห์มีหน้าที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการ
              อีกหลายหน้าที่ ดังนี้
                 1. ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่างๆ
                 2. รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
                 3. วางแผนในแต่ละขั้นตอนของงานให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน
                 4. ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ
                 5. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
                 6. วิเคราะห์ข้อกำหนดด้านฐานข้อมูล
                 7. ทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบโดยละเอียด
                 8. กำหนดลักษณะของเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
                 9. สร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
               10. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบ
               11. จัดทำแบบสอบถามถึงผลการดำเนินงานของระบบใหม่
               12. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ
               13. เป็นผู้ให้คำปรึกษา ผู้ประสานงาน และผู้แก้ปัญหา ให้แก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับระบบ
4. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน
     ตอบ 
ทีมงานพัฒนา ระบบ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ และ/หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติทีมงานพัฒนาระบบจะประกอบไปด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
                1. คณะกรรมการดำเนินงาน
                2. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ
                3. ผู้จัดการโครงการ
                4. นักวิเคราะห์ระบบ
                5. นักเขียนโปรแกรม
                6. เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล
                7. ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
5. วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธี อะไรบ้าง
    ตอบ 
มี 4 วิธีดังต่อไปนี้
                1. วิธีเฉพาะเจาะจง
                2. วิธีสร้างฐานข้อมูล
                3. วิธีจากล่างขึ้นบน
                4. วิธีจากบนลงล่าง
6. การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
    ตอบ 
ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
                1. การสำรวจเบื้องต้น
                2. การวิเคราะห์ความต้องการ
                3. การออกแบบระบบ
                4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
                5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
7. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น
    ตอบ 
เป็นขั้นตอนแรก ของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัญ ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ
8. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
    ตอบ 
เป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้อการของผู้ใช้
9. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ
    ตอบ 
ทีมงานพัฒนา ระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของระบบสารสนเทศ ได้แก่ การแสดงผลลัพธ์ การป้อนข้อมูล กระบวนการเก็บรักษา การปฏิบัติงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ
10. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
      ตอบ 
ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกาณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่างๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย
11. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
      ตอบ 
ทีมงานพัฒนา ระบบจะควบคุมและดูแลติดตั้งอุปกรต่างๆ ของระบบใหม่ โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา ทีมงานพัฒนาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานใด้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบ ไว้หรือไม่
12. รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ 
วิธี ดังต่อไปนี้
                1. รูปแบบน้ำตก
                2. รูปแบบวิวัฒนาการ
                3. รูปแบบค่อนเป็นค่อนไป
                4. รูปแบบเกลียว
13. การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี อะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ 
วิธีดังต่อไปนี้
               1. การปรับเปลี่ยนโดยตรง
               2. การปรับเปลี่ยนแบบขนาน
               3. การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ
               4. การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

กรณีศึกษา AMS

คลิกลิงก์
http://www.mediafire.com/?qb90jvbgbjov696

ระบบปัญญาประดิฐ์

ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ 


1.ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)
การทำให้เป็นอัตโนมัติของ)กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ กิจกรรมอันได้แก่ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ เช่น ศึกษาการเรียงตัวของเซลล์สมองในสามมิติ ศึกษาการถ่ายเทประจุไฟฟ้า และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกาย ระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) เราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร


2.ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans)
การศึกษาวิธีทำให้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าในขณะนั้น เช่น


  • สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
  • มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล
  • เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
  • เรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

3.ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally)
การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ  เช่น ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

4.ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (Systems that act rationally)
ปัญญาประดิษฐ์คือการศึกษาเพื่อออกแบบเอเจนต์ที่มีปัญญา พฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น เอเจนต์ (โปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น เอเจนต์ในระบบขับรถอัตโนมัติ ที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้ จึงจะเรียกได้ว่า เอเจนต์กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น เอเจนต์ในเกมหมากรุก ที่มีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ก็ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น

ระบบปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก้ผู้ใช้ในการให้คำแนะนำที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ในบางสาขา ES เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลและกฎเกณฑ์ของความรู้ ซึ่งรวบรวมมาจากสาขาวิชาที่ต้องการความเชี่ยวชาญไว้ในฐานความรู้ (knowledge base) และโปรแกรมจะดำเนินการเมื่อมีการป้อนข้อมูลโดยผู้ใช้ ในลักษณะการถามตอบและประมวลผล คำตอบจากที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปเพื่อหาข้อสรุปหรือคำแนะนำที่ต้องการ
ES เป็นสาขาหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence-AI) ซึ่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ การพัฒนา ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการเลียนแบบการเรียนรู้และพฤติกรรมการให้เหตุผลของมนุษย์
ตัวอย่างของ ES ที่นำไปใช้ในงานด้านต่างๆ 
1) ด้านการแพทย์ : การให้คำแนะนำแก่หมอในการสั่งยาปฏิชีวนะให้คนไข้ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยของคนไข้ แหล่งติดเชื้อ ราคาของยา
2) ด้านการผลิต : การให้คำแนะนำแก่โรงงานในการผลิตผตตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องบิน
3) ด้านธรณีวิทยา : ให้คำแนะนำแก่นักธรณีวิทยาในการวิเคราะห์ดินและน้ำมัน เพื่อพิจารณาในการขุดเจาะน้ำมัน
4) ด้านกระบวนการผลิต : ให้คำแนะนำในการกำหนดตารางเวลาในกระบวนการผลิต (Expert Systems Scheduling) ซึ่งทำให้บริษัทสามารถปรับตารางเวลาการการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการในการเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือเงื่อนไขของโรงงานที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็วดังที่บริษัท General Motors ได้นำมาใช้
5) ด้านกระบวนการทำงานของบริษัทบัตรเครดิต : ใช้ ES ช่วยในกระบวนการทำงานตั้งแต่การประมวลการสมัครของลูกค้า การอนุมัติเครดิต การรวมบัญชีที่ค้างชำระเกินกำหนด ES ที่ใช้ระบบนี้เรียกว่า Authorization Assistant และทำให้บริษัทประหยัดเงินได้หลายล้านดอลล่าร์ในแต่ละปี (Haag et al.,2000)
6) ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ : การออกแบบ ES มาสำหรับช่วยบริษัทที่ทำธุรกิจต่างประเทศในการทำสัญญากับประเทศต่างๆ และใช้เป็นเครื่องมืออบรมพนักงานให้มีความรู้และทักษะในความซับซ้อนของการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น (Haag et al.,2000)
7) ด้านการค้าระหว่างประเทศ : บริษัทที่ติดต่อกับกลุ่มประเทศ NAFTA ต้องเผชิญปัญหากับภาษีและกฎระเบียบที่สลับซับซ้อนสำหรับสินค้าต่างๆ ตลอดจน ความเข้มงวดในเรื่องพิธีศุลกากร และการกำหนดโทษของการฝ่าฝืนค่อนข้างรุนแรง ดังนั้น ความเสี่ยงในการทำการค้ากลุ่มประเทศดังกล่าวจึงค่อนข้างสูง บริษัทต่างๆ จึงได้อาศัย ES สำเร็จรูปที่ชื่อว่า “Origin” เป็นเครื่องมือช่วยในการให้คำแนะนำในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ 

วิเคราะห์ iPhone4 ในประเทศจีน

 หลังจากที่ทาง Apple เปิดจำหน่าย ไอโฟน 4S (iPhone 4S) เพิ่มอีก 22 ประเทศ ในวันนี้ (13 มกราคม 2555) ซึ่งหนึ่งในนั้น มีรายชื่อของประเทศจีน รวมอยู่ด้วยนั้น ล่าสุด ทาง Apple Store ในประเทศจีน ต้องยกเลิกการเปิดจำหน่าย ไอโฟน 4S (iPhone 4S) ในวันนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่มีประชาชนเข้ามาต่อคิวซื้อ ไอโฟน 4S (iPhone 4S) เป็นจำนวนมาก จนเกิดความวุ่นวาย และไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทำให้ Apple Store ทั้งในปักกิ่ง และเซี้ยงไฮ้ จำเป็นจะต้องยกเลิกการจำหน่าย ไอโฟน 4S (iPhone 4S) เพื่อความปลอดภัยของทั้งลูกค้า และพนักงานเอง
จากการเปิดเผยของนักข่าวท่านหนึ่ง ระบุว่า ที่หน้าร้าน Apple Store นั้น มีประชาชนเริ่มมามุงกันตั้งแต่เมื่อค่ำคืนวานนี้แล้ว จนเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ประมาณ 7 โมงเช้า ได้มีประชาชนเข้ามายืนต่อคิวซื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเวลาที่จะต้องเปิดร้าน แต่แล้วเมื่อเวลาล่วงเลยมาจนถึง 8 โมงเช้า ก็ไม่มีวี่แววว่า ประตูหน้าร้านจะเปิดแต่อย่างใด และนั่นก็เป็นเหตุที่สร้างความไม่พอใจต่อผู้ที่มารอซื้อเป็นอย่างมาก ทั้งตะโกน และด่าทอ จนกระทั่งมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ถึงกับปาไข่ใส่หน้าร้าน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องตัดสินใจปิด และแปะป้ายหน้าร้านว่า งดจำหน่าย ไอโฟน 4S (iPhone 4S) พร้อมกับแจ้งให้ตำรวจมาดูแลรักษาความปลอดภัยด้วย

วิเคราะห์
จากการที่ได้ทราบข่าวว่า ได้งดจำหน่าย iphone 4S ในประเทศจีน ผมคิดว่าทางการจีนน่าจะรู้อยู่แล้วว่าจะมีผู้คนจำนวนมากที่จะมาซื้อเครื่อง iphone 4S ดังนั้น น่าจะมีมาตรการที่รองรับตั้งแต่แรก อย่างเช่น เปิดสั่งจองทางอินเตอร์เน็ตไปก่อนเลย อาจจะเป็นการสุ่มรายชื่อหรืออย่างอื่นแล้วค่อยมารับเครื่องที่หลัง จะดีกว่า เพราะถ้าปล่อยให้ผู้คนมาชุมนุมกันเยอะๆอย่างนี้ ผู้คนที่ไม่ได้เป็นส่วนใหญ่คงไม่พอใจอยู่แล้ว จะทำให้เกิดการสูญเสียได้อีกมาก และประเทศจีนยังมีความโดดเด่นทางด้านก๊อปปี้อยู่แล้ว อาจจะเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่งดจำหน่ายในประเทศจีนอีกด้วย เพราะอาจจะเป็นการขาย iphone 4s ครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศจีนก็ได้ หลังจากนั้นอาจะมีแต่ของเลียนแบบมากกว่าก็เป็นไปได้